นักวิชาการชาวฝรั่งเศสได้ให้ความหมายของคำว่า
ราชมรรคา ว่า ราชมรรคา คือ ถนนหลวงของพระเจ้าชัยวรมันที่
7 ซึ่งเรื่องราวของราชมรรคานั้นปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์
โดยระบุว่ามีเส้นทางสำคัญ 5 สาย จากเมืองพระนคร คือ
1. พระนคร-พิมาย
2. พระนคร-วัดภู
3. พระนคร-สวายจิก
4. พระนคร-ปราสาทพระขรรค์
และ 5. พระนคร-กำปงธม
ประกอบกับนักวิชาการชาวฝรั่งเศสได้ทำแผนผังแนวถนนโบราณตามที่จารึกระบุ
และจารึกยังระบุอีกว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
โปรดให้สร้างบ้านมีไฟหรือธรรมศาลาจำนวนทั้งสิ้น 121 หลัง
ตามเส้นทางจากเมืองพระนครไปยังเมืองต่างๆ ในจำนวนนี้พบธรรมศาลา 17 หลัง ในเส้น
ทางพระนคร-พิมาย
ในส่วนของราชมรรคาที่แปลว่าถนนหลวงของพระเจ้าชัยวรมันที่
7 นั้น ไม่ได้หมายถึงทางหลวงในเฉกเช่นปัจจุบัน หรือทางเกวียนในสมัยโบราณ
และไม่ได้มีเส้นทางที่ชัดเจนอะไรนัก แต่ราชมรรคานี้หมายความรวมไปถึง
กลุ่มชุมชนต่าง ๆ
ซึ่งเป็นกลุ่มชุมชนที่ถูกสร้างขึ้นภายใต้การปกครองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 รวมไปถึงเส้นทางที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ใช้แผ่ขยายอำนาจด้วยนั่นเอง
ดังจะเห็นได้จากปราสาทขอมต่าง ๆ รวมไปถึงปราสาทตาเล็งของอำเภอขุขันธ์ด้วย
แต่เดิมปราสาทตาเล็งอยู่ในเขตตำบลกันทรารมย์
อำเภอขุขันธ์ ภายหลังมีการแยกตำบลใหม่ ปราสาทตาเล็งจึงอยู่ในเขตตำบลปราสาท
|
ปราสาทตาเล็ง ตั้งอยู่ ณ บ้านปราสาท
หมู่ที่ 1
ตำบลปราสาท อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ที่ตั้งปราสาทห่างจากตัวอำเภอขุขันธ์ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 20.1 กิโลเมตร
ปราสาทตาเล็งเป็นปราสาทขนาดเล็กหลังเดี่ยว
อยู่ท่ามกลางป่าใหญ่ทางด้านตะวันออกเขตหมู่บ้าน
ตัวปราสาทมีการแกะสลักหินเป็นลวดลายสวยงามมากแห่งหนึ่ง ก่อด้วยหินทราย
และอิฐบนฐานศิลาแลง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
ส่วนยอดด้านบนหักพังกระจัดกระจายอยู่รอบๆตัวปราสาทหมดแล้ว
ที่เหลือคือส่วนเรือนธาตุที่ก่อด้วยหินทรายเป็นกรอบประตูปราสาท
เฉพาะด้านทิศตะวันออก อีกสามด้านก่อเป็นผนังทึบเป็นประตูหลอก
คือแกะสลักหินรูปร่างคล้ายกับประตูแต่ไม่สามารถเข้าออกได้ เรียกว่าประตูหลอก
ที่เสาประดับผนังของกรอบประตูด้านทิศตะวันออก
ต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงกรอบหน้าบันมีการแกะสลักลวดลายอย่างสวยงาม
โดยบริเวณเสาประดับผนังทั้งสองข้างมีการ
แกะสลักเป็นลายก้านขดในแต่ละโค้งตรงกลางสลักเป็นรูปหงส์
บริเวณหัวเสาแกะสลักเป็นลายกลีบบัว ลายใบไม้
ส่วนหน้าบันที่เหลืออยู่เฉพาะปลายกรอบทั้งสองข้าง สลักเป็นรูปนาคห้าเศียรสังเกตดูดีๆ
จะเห็นว่านาคยังมีเขี้ยวเหมือนเขี้ยวเหมือนงูอยู่ด้วย
ซึ่งเป็นลวดลายแกะสลักที่ละเอียดปราณีตมาก
และที่หน้าบันทับหลังที่ตกอยู่หน้าปราสาทมีการแกะสลักเป็นรูปพระอินทร์ทรง
ช้างเอราวัณ ยืนอยู่บนหัวยักษ์ และ โดยรอบตัวปราสาทมีหินมีส่วนประกอบของปราสาทตกอยู่หลายชิ้นกระจัดกระจาย
ทับหลังอีกชิ้นหนึ่งตกอยู่ที่พื้นดินเป็นรูปพระอินทร์ทรงหงส์ ทับหลังชิ้นอื่น
มีลักษณะคล้ายกัน แต่ภาพใบหน้าหน้าเทวรูปตรงกลางถูกกะเทาะออกไปหมด
คิดว่าที่เป็นเช่นนี้น่าจะเกิดจากฝีมือคนขโมย
ทางด้านทิศตะวันออก เป็นแนวศิลาแลง ที่
เป็นขอบฐานของซุ้มประตู และมีคูน้ำอยู่ล้อมสามด้าน ยกเว้นด้านทิศตะวันออก
ตรงไปจากฐานซุ้มประตูทิศตะวันออก
มีแนวคันดินคล้ายถนนเป็นแนวตรงไปสู่สระน้ำขนาดใหญ่ที่คนแถวนั้นเรียกว่า
(ตระเปียงละเบิก) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำใช้สอยที่หล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนคนในชุมชนรอบๆ
ปราสาทตาเล็งแห่งนี้ได้อย่างดี
คูน้ำล้อมรอบปราสาท
หนองตระเปียงละเบิก
จากลักษณะทางศิลปกรรม
กรมศิลปากรได้สันนิฐานว่าปราสาทตาเล็งได้สร้างขึ้น โดยมีรูปแบบศิลปะเขมรแบบปาปวน
มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 - 17
(สร้างขึ้นก่อนการตั้งกรุงสุโขทัยของไทยด้วยซ้ำไป) ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน
เมื่อปี พ.ศ.2525 โดยมีขอบเขตโบราณสถาน เป็นพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ 2 งานเศษ
ปราสาทตาเล็งจึงเป็นโบราณสถานที่น่ามาเที่ยวชมเพื่อศึกษาอารยะธรรมความเจริญ
รุ่งเรืองของดินแดนอีสานใต้ในอดีตได้อย่างน่าทึ่งเลยทีเดียว
ด้วยเหตุผลและหลักฐานต่าง ๆ
ของปราสาทตาเล็งที่ได้กล่าวมาข้างต้น ทำให้ปราสาทตาเล็งเข้าไปเกี่ยวข้องในเส้นทางราชมรรคา
เนื่องจากมีอายุในช่วงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และปราสาทหินพิมาย
ซึ่งก็คือหนึ่งในเส้นทางที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ใช้ในเส้นทาง
พระนคร – พิมาย นั่นเอง
ปัจจุบันปราสาทลุมพุก
หรือ ปราสาทตาเล็ง จึงเป็นหนึ่งในปราสาทหินที่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาเพื่อยกให้เป็นมรดกโลก
ในชื่อ"ราชมรรคา" หรือ "Royal Roads" ร่วมกับปราสาทหินอื่นๆ อาทิเช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง
ปราสาทสระกำแพงใหญ่ ปราสาทภูมิโปน ปราสาทศีขรภูมิ และอื่นๆอีกมากมาย
เป็นที่น่าเสียใจยิ่งนักว่า
ปราสาทตาเล็งกำลังจะได้รับการยกให้เป็นมรดกอันล้ำค่าของโลก
แต่เหตุไฉนจึงไม่มีหน่วยงานใด ๆ เข้ามาทำนุบำรุงตัวปราสาทตาเล็ง
จนทำให้ทรุดโทรมได้ถึงเพียงนี้ ไม่เพียงแค่ตัวปราสาทที่ทรุดโทรม ภูมิทัศน์โดยรอบก็กลับทรุดโทรมไปด้วย...
หากปราสาทตาเล็งอยู่ในความรับผิดชอบดูแลของหน่วยงานใด
หากท่านได้มีโอกาสเปิดมาอ่านบทความนี้
ก็ขอให้ท่านได้รีบเร่งเข้ามาพัฒนาปราสาทแห่งนี้อย่างเร่งด่วน...
เรียบเรียงบทความจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=411076 และจากบทความปราสาทตาเล็งในสารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย
ขอขอบคุณภาพประกอบจากเฟซบุก
สุเพียร คำวงศ์
ถ้าได้รับการบูรณะนี่ คงจะเป็นปราสาทหินที่สวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดนะครับ ดูจากลวดลายแล้วมีความประณีตมาก
ตอบลบขอสอบถามค่ะมีปัญหาด้านไหนบ้างค่ะ(ขอสอบถามเพื่อนำไปทำวิจัยค่ะ ขอบคุณค่ะ)
ตอบลบ