ก่อน...สิ้นเสียงจับเปยพิณเขมรพเนจร
ก่อนอื่นก็ต้องขอขอบคุณหนังสือพิมพ์ Esanwatch (อีสานวอช) เจ้าของคอลัมน์นี้
หลาย ๆ คนคงจะคุ้นหน้าคุ้นตากับคนในภาพด้านบนบ้างแล้ว เพราะทางเพจขุขันธ์นคร เคยนำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้ว นั่นก็คือ คุณพ่อจุม แสงจันทร์ ชาวตำบลศรีสะอาด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งท่านคือ "เจรียง" ที่เหลือเพียงคนเดียวของเมืองขุขันธ์ (เรียกได้ว่าท่านเป็นบรมครูเจรียงของเมืองขุขันธ์ก็ว่าได้) ทางเพจเพิ่งทราบมาไม่นานจากหนังสือพิมพ์อีสานวอชว่า นอกจากท่านจะเจรียงได้เก่งและไพเราะแล้ว ท่านยังเล่นเครื่องดนตรีเขมรที่เรียกว่า "จับเปย" ประกอบการเจรียงของท่านได้อย่างลงตัวและไพเราะเป็นอย่างมากอีกด้วย เรียกได้ว่าคุณพ่อจุมคือ "นักจับเปยเพียงคนเดียวของประเทศไทยเลยก็ว่าได้" หนทางชีวิตบนเส้นเสียง "จับเปย" ของท่านจะเป็นเช่นไร จะมีใครสืบทอดศิลปะภูมิปัญญาเขมรของท่านได้หรือไม่ อยากให้ทุกท่านได้อ่านบทความต่อไปนี้.....
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
มีเพียงคำสอนสั่งจาก ลุงจุม ที่พร่ำสอนลูกศิษย์คนใหม่เป็นภาษาไทยปนเขมรไปว่า อันนี้ติดอยู่ในตัวเลยนะ ถ้าเรายังเป็นหนุ่มอยู่ ถ้าเขามีเจ้าของแล้ว ห้ามไปเกี่ยวข้อง อย่าไปรักเขามากเลย ถึงจะรักเขาขนาดไหนก็ให้อดทนเอาไว้ นึกถึงพระคุณคุณพ่อคุณแม่ช่วยผมด้วย ผมจะไม่ไปทางนี้เพราะเขามีเจ้าของแล้ว ต่อจากนี้ไปท่านก็ถือว่าเป็นน้องรัก ลูกศิษย์รัก ต้องทำได้แค่นี้ อย่าไปคิดอะไรมาก แต่ถ้าเป็นหญิงสาวไปได้คนมีเจ้าของห้ามเด็ดขาด เดี๋ยวมันจะเป็นบ้าไปเลยนะ อย่าคิดว่าเราเด่น ฟ้ายังมีเหนือฟ้า ทรัพย์อยู่ในดินสินอยู่ในน้ำใครทำใครได้ เราต่อสู้ด้วยหยาดเหงื่อ ด้วยพลังกายสักวันหนึ่งเราต้องอยู่ได้ ถ้าใครมาด่าก็ให้หัวเราะตอบ ถ้าแค่ด่า แต่ถ้าใครมาตีต้องตีตอบ บอกเขาว่ากูเจ็บแล้วนะ กูจะตีตอบแล้วนะ แต่ถ้าเขาแค่ด่าเขาว่าอะไรให้เขาพูดไปเถอะเราหัวเราะอย่างเดียว
เสร็จพิธีคืนนั้นผมเลยได้นั่งคุยกับลุงจุมเป็นการส่วนตัวครู่ใหญ่ ๆ ถามถึงที่มาของ จับเป็ย ว่าเข้ามาเมืองไทยตั้งแต่เมื่อไหร่ ยังไง ลุงจุมสืบทอดการร้องเจรียงและเล่นจับเป็ยนี้มาจากใคร ลุงจุมเล่าว่า
จับเป็ยตัวนี้เดินทางมาไกลมาก พ่อเป็นคน อ.จอมกระสานต์ ประเทศกัมพูชา เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่อสมัยที่พ่อยังเป็นหนุ่ม พ่อมีความสามารถพิเศษในการการขับร้องเจรียงและเล่น “จับเป็ย” และ “ตรัว”(ซอ) ซึ่งพ่อได้เรียนมาจาก อาจารย์ของท่านอีกทีหนึ่งในจอมกระสานต์ เมื่อเล่นเก่งแล้ว พ่อก็เดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยระหว่างทางก็จะขับเจรียงสลับกับการเล่นจับเป็ยและเล่นตรัวซอไปตลอดทาง
ท่านเก่งทั้งเจรียงพิณ เจรียงตรัว รำมะเมื๊อด ร้องกันตรึม อาไย ดีดจ้องหน่อง และเป่าใบไม้ก็ได้ จึงเป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก ท่านก็จะพาจับเป็ย และตรัวซอของท่านเดินสายเล่นไปตามหมู่บ้านต่างๆ มาเรื่อยๆ ค่ำไหนนอนที่นั่น ไปเจรียงที่ไหนคนก็ชอบ เขาก็ให้ที่พักให้ข้าวให้น้ำ เมื่อคนเริ่มเบื่อก็เปลี่ยนที่เล่นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งพ่อเดินทางมาถึงที่ ตำบลศรีสะอาด อำเภอขุขันธ์ ท่านเกิดเจ็บขาอย่างแรง เดินไปไหนต่อไม่ได้แล้ว ท่านจึงปักหลักเจรียงจับเป็ยและตรัวซออยู่ที่นั่น จนกระทั่งได้แต่งงานกับคุณแม่ของผม ลุงจุมเล่าถึงประวัติของผู้เป็นพ่อคือ นายเจียม แสงจันทร์ “จับเป็ยพเนจร”ที่รอนแรมมาจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีเพียงจับเป็ยและตรัวซอเป็นเครื่องหาเลี้ยงตัวเองมาเรื่อยๆ จนกระทั่งมาพบรักกับ นางคำ สาวไทยชาวเมืองขุขันธ์มีครอบครัวและปักหลักปักฐานอยู่ที่เมืองไทย มีพยานรักสองฝั่งเขาพนมดองแร๊ก (พนมดงรัก) ด้วยกัน 5 คนโดยมีลุงจุมเป็นพี่ชายคนโต
“ ส่วนผมเรียนการเจรียงจับเป็ยและตรัวซอกับพ่อเจียม ซึ่งพ่อเองก็คาดหวังว่าจะให้ผมสืบทอดการเจรียงจับเป็ยจากท่านอยู่แล้ว ผมเองก็ชอบนอนฟังเวลาพ่อเจรียงอยู่ที่บ้าน สมัยนั้นไม่มีทีวี วิทยุฟังเหมือนสมัยนี้ ก็จะมีแต่เจรียงจับเป็ยและตรัวซอของพ่อนี่แหละฟังเป็นนิทานโบราณ ไม่ว่าจะเป็นพระเวสสันดร ลักษณะวงศ์ หรือเศรษฐีใจบุญ คนส่วนใหญ่จะชอบลักษณะวงศ์ หรือถ้าไปงานศพพ่อก็จะเจรียงสวดอภิธรรม บางงานเล่นตั้งแต่หัวค่ำยันเช้าเลย ”
ลุงจุม เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และไม่ได้เรียนต่อเนื่องจากครอบครัวมีฐานะค่อนข้างยากจน แต่ก็ถือว่าเป็นโอกาสดีของลุงจุม ที่ได้มีโอกาสติดตามพ่อของท่านไปรับงานเจรียงจับเป็ยตามงานต่างๆ ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ทำให้ลุงจุมได้ซึมซับศิลปะการเจรียงจับเป็ยและตรัวซอโดยไม่รู้ตัว อีกทั้งท่านยังได้จดจำบทเจรียงต่างๆ เมื่ออายุก้าวเข้าสู่วัยหนุ่มน้อย ลุงจุมจึงได้หันมาจริงจังกับการหัดเล่นจับเป็ย
โดยเริ่มเรียนดีดจับเปยเพลงพัดเจือย พัดเจือยกลาย สโรเม และบทโศก สี่เพลงหลักซึ่งถือเป็นเพลงครูของเจรียงจับเปย
เมื่อย่างเข้าสู่วัยทำงานลุงจุมก็ใช้ชีวิตตามปกติสุขของคนลูกทุ่ง แม้จะมีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีและการขับร้องเจรียง แต่กิจวัตรประจำของลุงจุมก็ไม่ได้แตกต่างจากคนหนุ่มในวัยเดียวกัน โดยเฉพาะการที่ได้เป็นพี่ชายคนโตของน้องๆ ทำให้ภาระในการดูแลครอบครัวช่วยพ่อ-แม่ จึงตกไปอยู่ที่ลุงจุมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อว่างเว้นจากการไปเล่นเจรียง ก็จะทำงานช่วยพ่อแม่อย่างขยันขันแข็ง ถ้ามีใครมาจ้างหรือวานให้ไปทำอะไรช่วยก็จะไปโดยไม่อิดออด จึงเป็นที่รักใคร่ ของคนในหมู่บ้าน
วีระศักดิ์ ขุขันธิน หรือ “น้าวีสองวัย” ผู้สืบทอดวิชาการเล่นจับเปย ได้กล่าวถึง ลุงจุม ไว้เมื่อครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ คัดมาจากหนังสือ อสท. ปี 2550 ฉบับที่ 11 มิถุนายน 2553 ว่า ลุงจุม แสงจันทร์ เป็นศิลปินอาชีพคนเดียวของเมืองไทยที่เล่นเครื่องดนตรีที่เรียกว่าจับเปย ฎอง เวง ประกอบการขับเจรียง การขับเจรียงของลุงจุมจะเริ่มตั้งแต่หัวค่ำไปจนรุ่งเช้า เจรียงเล่าเรื่องพุทธประวัติ เรื่องคุณธรรม เรื่องคน เรื่องชุมชนชาวบ้าน หมอชีพ สืบทรัพย์ กูเกิ้ลส่วนตัวประจำอำเภอ พาผมไปหาลุงจุมหลายครั้งกว่าจะได้พบกัน เพราะเป็นช่วงที่แกออกไปทำนา เรานั่งอยู่ใต้ถุนสูงของบ้านทรงเขมร ลุงจุมเริ่มบรรเลง จับเปย ฎอง เวง ดนตรีไหลออกมาจากนิ้วของศิลปินผู้ก้มหน้าสืบสานศิลปะที่กำลังละลายหายไป โดยปราศจากการเหลือบตาดูแลจากหน่วยงานใดๆ มีเพียงหัวใจและร่างกายที่แกร่งเพราะกรำงานหนักทั้งกลางแดดทุ่งลมร้อนฝนหนาว ผมปวารณาตัวเป็นศิษย์ เริ่มเรียนจับเปย ตั้งแต่บทที่หนึ่ง ก.ไก่ ข.ไข่
หูผมห่างออกจากสำเนียงดนตรีอีสานใต้นานเกินไป มัวหลงกลิ่นนมเนย ดอกเหมย ปลาดิบ จนหลงลืมสำเนียงกำพืดของตัวเอง เป็นวัยรุ่นยุคสงครามเวียดนาม อเมริกันเข้ามาตั้งฐานทัพพร้อมกับกีต้าร์และดนตรีร็อค สำเนียงเสียงดนตรี มโหรี แบบเขมร แบบอีสานใต้จางละลาย ผมเริ่มอ่านออกเขียนได้ พอจะเล่นจับเปย ฏอง เวง ได้บ้างแล้ว กลิ่นผการัมเจก จางๆลอยมาในสายลม ผมรวบรวมสหายดนตรีพร้อมกับเครื่องพื้นบ้านอีสานใต้หลายอย่างมาประกอบส่วน เป็นวงดนตรี ตั้งชื่อว่า Khmer Roots (ขแมร์ รูทส์) ฝึกฝนจนกระทั่งพากันตระเวนแสดงเพื่อเผยแพร่ศิลปะเท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวย
“ สิ้นอาจารย์วีแล้ว ผมก็ไม่รู้จะได้ใครมาขอต่อยอด ใครก็ได้ขอให้ มีจิตวิญญาณแห่งดนตรีก็พร้อมที่จะถ่ายทอดให้ทุกคน ที่ผ่านมาก็มีหลายคนที่อยากมาเรียนแต่ก็ไม่จริงจังแล้วก็หายไป” ลุงจุมเรียกน้าวีว่า อาจารย์วี แม้จะเป็นลูกศิษย์แต่เมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ น้าวี ดูแลลุงจุมเหมือนญาติผู้ใหญ่คนหนึ่ง ทุกครั้งที่พูดถึงน้าวี ลุงจุมจึงมักมีแววตาที่เศร้าสร้อยเหมือนท่านได้สูญเสียคนรัก ศิษย์รักคนสำคัญไป แม้ลุงจุมจะมีทายาทถึง 3 คน แต่ก็ไม่มีใครสนใจที่จะมาสืบทอดการเล่นเจรียงจับเป็ยจากผู้เป็นพ่อเลยแม้แต่คนเดียว
“ ตัวผมไม่มีลูกศิษย์ มีคนมาเรียนไม่ถึง 2 วันก็หนีกลับหมด บางคนเจรียงได้แต่ดีดพิณไม่เป็น บางคนดีดพิณเป็นแต่เจรียงไม่ได้ อย่างโรงเรียนศรีสะอาดวิทยาคมให้ผมไปสอน สอนได้หนึ่งเดือนเขาก็ให้หยุด เงินเดือนผมไม่ต้องการหรอก แต่อยากเห็นลูกหลานรู้ภาษาบ้านตัวเอง หรือเจรียงได้เท่านั้น เขาว่าเขาไม่มีเวลา นักเรียนต้องเรียนโปงลาง ร้องเพลง ทุกวันนี้จึงไม่มีผู้สืบทอด ถ้าผมตาย เจรียงจับเปยคงหมดจากประเทศนี้ ” ประโยคนี้ลุงจุมได้พูดผ่าน คอลัมน์จุดประกาย น.ส.พ. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 ธ.ค. 2555
ก่อนสิ้นเสียง "จับเป็ย" พิณเขมรพเนจร
โดย : มนูญ มุ่งชู
คืนวันหนึ่งเมื่อหลายเดือนก่อนผมแวะเวียนไปที่ “วีระสโมสร”
ริมฝั่งแม่น้ำมูล บ้านท่าเมืองใหม่ ต.ห้วยขะยุง อ.วารินชำราบ จ.อุบลฯ
ซึ่งเป็นที่พำนักของนักคิด นักเขียน รุ่นใหญ่แห่งอีสานใต้ ผู้ก่อตั้งกลุ่มวรรณกรรมลุ่มน้ำมูลที่ผมรู้จักท่านในนาม ฟอน ฝ้าฟาง หรือที่ใคร
ๆรู้จักในชื่อ วีระ สุดสังข์
ผู้หลักผู้ใหญ่อีกท่านที่ผมให้ความเคารพและชื่นชมในเรื่องการทำงานของท่านในหลาย ๆ ด้าน
คืนวันนั้นผมได้มีโอกาสร่วมพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์
นั่นก็คือพิธีครอบครู ผู้สืบทอดการขับร้องเจรียงและเล่นจับเป็ย
(พิณเขมรหรือกระจับปี่) ระหว่าง ลุงจุม แสงจันทร์ วัย 67 ปี กับ
ศิลปินชาวนา “เหวิน” มหรรณพ ต้นวงศ์ษา
ผมเองก็เอะใจอยู่ไม่น้อย ว่าศิษย์ซึ่งเป็นคนในกลุ่มชาติพันธุ์ลาว
แต่อาจารย์คือ ลุงจุมนั้นสืบเชื้อสายมาจากชาติพันธุ์เขมร ท่วงทำนองการเจรียง
หรือ จำเรียง ภาษาเขมรแปลว่า ร้อง
ส่วนใหญ่แล้วลุงจุมจะเจรียงออกมาเป็นภาษาเขมรพื้นถิ่นเกือบทั้งหมด
ไม่เว้นแม้แต่พิธีกรรมในการครอบครูก็ล้วนเป็นพิธีกรรมของชาวเขมรล้วนๆ
มีเพียงคำสอนสั่งจาก ลุงจุม ที่พร่ำสอนลูกศิษย์คนใหม่เป็นภาษาไทยปนเขมรไปว่า อันนี้ติดอยู่ในตัวเลยนะ ถ้าเรายังเป็นหนุ่มอยู่ ถ้าเขามีเจ้าของแล้ว ห้ามไปเกี่ยวข้อง อย่าไปรักเขามากเลย ถึงจะรักเขาขนาดไหนก็ให้อดทนเอาไว้ นึกถึงพระคุณคุณพ่อคุณแม่ช่วยผมด้วย ผมจะไม่ไปทางนี้เพราะเขามีเจ้าของแล้ว ต่อจากนี้ไปท่านก็ถือว่าเป็นน้องรัก ลูกศิษย์รัก ต้องทำได้แค่นี้ อย่าไปคิดอะไรมาก แต่ถ้าเป็นหญิงสาวไปได้คนมีเจ้าของห้ามเด็ดขาด เดี๋ยวมันจะเป็นบ้าไปเลยนะ อย่าคิดว่าเราเด่น ฟ้ายังมีเหนือฟ้า ทรัพย์อยู่ในดินสินอยู่ในน้ำใครทำใครได้ เราต่อสู้ด้วยหยาดเหงื่อ ด้วยพลังกายสักวันหนึ่งเราต้องอยู่ได้ ถ้าใครมาด่าก็ให้หัวเราะตอบ ถ้าแค่ด่า แต่ถ้าใครมาตีต้องตีตอบ บอกเขาว่ากูเจ็บแล้วนะ กูจะตีตอบแล้วนะ แต่ถ้าเขาแค่ด่าเขาว่าอะไรให้เขาพูดไปเถอะเราหัวเราะอย่างเดียว
เมื่อว่าที่ลูกศิษย์คนใหม่ ศิลปินเหวิน ถามอาจารย์จุมว่า “
ผมพูดและฟังภาษาเขมรไม่ได้เลย
แล้วจะสืบทอดการขับร้องเจรียงและเล่นจับเป็ยได้อย่างไร..? ”
ผู้เป็นอาจารย์พูดขึ้นว่า “ ดนตรีไม่มีเชื้อชาติและภาษา
ขอเพียงท่านมีใจรักในการที่จะเล่นจับเป็ยแล้ว
ท่านจะเจรียง(ร้อง)เป็นภาษาอะไรก็ได้ทั้งนั้น
ไม่จำเป็นว่าต้องเจรียงเป็นภาษาเขมรอย่างเดียวเท่านั้น ”
ดังนั้นพิธีกรรมครอบครูจึงดำเนินไปจนแล้วเสร็จ
เสร็จพิธีคืนนั้นผมเลยได้นั่งคุยกับลุงจุมเป็นการส่วนตัวครู่ใหญ่ ๆ ถามถึงที่มาของ จับเป็ย ว่าเข้ามาเมืองไทยตั้งแต่เมื่อไหร่ ยังไง ลุงจุมสืบทอดการร้องเจรียงและเล่นจับเป็ยนี้มาจากใคร ลุงจุมเล่าว่า
จับเป็ยตัวนี้เดินทางมาไกลมาก พ่อเป็นคน อ.จอมกระสานต์ ประเทศกัมพูชา เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเมื่อสมัยที่พ่อยังเป็นหนุ่ม พ่อมีความสามารถพิเศษในการการขับร้องเจรียงและเล่น “จับเป็ย” และ “ตรัว”(ซอ) ซึ่งพ่อได้เรียนมาจาก อาจารย์ของท่านอีกทีหนึ่งในจอมกระสานต์ เมื่อเล่นเก่งแล้ว พ่อก็เดินทางเข้ามาในประเทศไทย โดยระหว่างทางก็จะขับเจรียงสลับกับการเล่นจับเป็ยและเล่นตรัวซอไปตลอดทาง
ท่านเก่งทั้งเจรียงพิณ เจรียงตรัว รำมะเมื๊อด ร้องกันตรึม อาไย ดีดจ้องหน่อง และเป่าใบไม้ก็ได้ จึงเป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้านในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก ท่านก็จะพาจับเป็ย และตรัวซอของท่านเดินสายเล่นไปตามหมู่บ้านต่างๆ มาเรื่อยๆ ค่ำไหนนอนที่นั่น ไปเจรียงที่ไหนคนก็ชอบ เขาก็ให้ที่พักให้ข้าวให้น้ำ เมื่อคนเริ่มเบื่อก็เปลี่ยนที่เล่นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งพ่อเดินทางมาถึงที่ ตำบลศรีสะอาด อำเภอขุขันธ์ ท่านเกิดเจ็บขาอย่างแรง เดินไปไหนต่อไม่ได้แล้ว ท่านจึงปักหลักเจรียงจับเป็ยและตรัวซออยู่ที่นั่น จนกระทั่งได้แต่งงานกับคุณแม่ของผม ลุงจุมเล่าถึงประวัติของผู้เป็นพ่อคือ นายเจียม แสงจันทร์ “จับเป็ยพเนจร”ที่รอนแรมมาจากฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีเพียงจับเป็ยและตรัวซอเป็นเครื่องหาเลี้ยงตัวเองมาเรื่อยๆ จนกระทั่งมาพบรักกับ นางคำ สาวไทยชาวเมืองขุขันธ์มีครอบครัวและปักหลักปักฐานอยู่ที่เมืองไทย มีพยานรักสองฝั่งเขาพนมดองแร๊ก (พนมดงรัก) ด้วยกัน 5 คนโดยมีลุงจุมเป็นพี่ชายคนโต
“ ส่วนผมเรียนการเจรียงจับเป็ยและตรัวซอกับพ่อเจียม ซึ่งพ่อเองก็คาดหวังว่าจะให้ผมสืบทอดการเจรียงจับเป็ยจากท่านอยู่แล้ว ผมเองก็ชอบนอนฟังเวลาพ่อเจรียงอยู่ที่บ้าน สมัยนั้นไม่มีทีวี วิทยุฟังเหมือนสมัยนี้ ก็จะมีแต่เจรียงจับเป็ยและตรัวซอของพ่อนี่แหละฟังเป็นนิทานโบราณ ไม่ว่าจะเป็นพระเวสสันดร ลักษณะวงศ์ หรือเศรษฐีใจบุญ คนส่วนใหญ่จะชอบลักษณะวงศ์ หรือถ้าไปงานศพพ่อก็จะเจรียงสวดอภิธรรม บางงานเล่นตั้งแต่หัวค่ำยันเช้าเลย ”
ลุงจุม เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และไม่ได้เรียนต่อเนื่องจากครอบครัวมีฐานะค่อนข้างยากจน แต่ก็ถือว่าเป็นโอกาสดีของลุงจุม ที่ได้มีโอกาสติดตามพ่อของท่านไปรับงานเจรียงจับเป็ยตามงานต่างๆ ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ทำให้ลุงจุมได้ซึมซับศิลปะการเจรียงจับเป็ยและตรัวซอโดยไม่รู้ตัว อีกทั้งท่านยังได้จดจำบทเจรียงต่างๆ เมื่ออายุก้าวเข้าสู่วัยหนุ่มน้อย ลุงจุมจึงได้หันมาจริงจังกับการหัดเล่นจับเป็ย
โดยเริ่มเรียนดีดจับเปยเพลงพัดเจือย พัดเจือยกลาย สโรเม และบทโศก สี่เพลงหลักซึ่งถือเป็นเพลงครูของเจรียงจับเปย
เมื่อย่างเข้าสู่วัยทำงานลุงจุมก็ใช้ชีวิตตามปกติสุขของคนลูกทุ่ง แม้จะมีพรสวรรค์ทางด้านดนตรีและการขับร้องเจรียง แต่กิจวัตรประจำของลุงจุมก็ไม่ได้แตกต่างจากคนหนุ่มในวัยเดียวกัน โดยเฉพาะการที่ได้เป็นพี่ชายคนโตของน้องๆ ทำให้ภาระในการดูแลครอบครัวช่วยพ่อ-แม่ จึงตกไปอยู่ที่ลุงจุมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อว่างเว้นจากการไปเล่นเจรียง ก็จะทำงานช่วยพ่อแม่อย่างขยันขันแข็ง ถ้ามีใครมาจ้างหรือวานให้ไปทำอะไรช่วยก็จะไปโดยไม่อิดออด จึงเป็นที่รักใคร่ ของคนในหมู่บ้าน
วีระศักดิ์ ขุขันธิน หรือ “น้าวีสองวัย” ผู้สืบทอดวิชาการเล่นจับเปย ได้กล่าวถึง ลุงจุม ไว้เมื่อครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ คัดมาจากหนังสือ อสท. ปี 2550 ฉบับที่ 11 มิถุนายน 2553 ว่า ลุงจุม แสงจันทร์ เป็นศิลปินอาชีพคนเดียวของเมืองไทยที่เล่นเครื่องดนตรีที่เรียกว่าจับเปย ฎอง เวง ประกอบการขับเจรียง การขับเจรียงของลุงจุมจะเริ่มตั้งแต่หัวค่ำไปจนรุ่งเช้า เจรียงเล่าเรื่องพุทธประวัติ เรื่องคุณธรรม เรื่องคน เรื่องชุมชนชาวบ้าน หมอชีพ สืบทรัพย์ กูเกิ้ลส่วนตัวประจำอำเภอ พาผมไปหาลุงจุมหลายครั้งกว่าจะได้พบกัน เพราะเป็นช่วงที่แกออกไปทำนา เรานั่งอยู่ใต้ถุนสูงของบ้านทรงเขมร ลุงจุมเริ่มบรรเลง จับเปย ฎอง เวง ดนตรีไหลออกมาจากนิ้วของศิลปินผู้ก้มหน้าสืบสานศิลปะที่กำลังละลายหายไป โดยปราศจากการเหลือบตาดูแลจากหน่วยงานใดๆ มีเพียงหัวใจและร่างกายที่แกร่งเพราะกรำงานหนักทั้งกลางแดดทุ่งลมร้อนฝนหนาว ผมปวารณาตัวเป็นศิษย์ เริ่มเรียนจับเปย ตั้งแต่บทที่หนึ่ง ก.ไก่ ข.ไข่
หูผมห่างออกจากสำเนียงดนตรีอีสานใต้นานเกินไป มัวหลงกลิ่นนมเนย ดอกเหมย ปลาดิบ จนหลงลืมสำเนียงกำพืดของตัวเอง เป็นวัยรุ่นยุคสงครามเวียดนาม อเมริกันเข้ามาตั้งฐานทัพพร้อมกับกีต้าร์และดนตรีร็อค สำเนียงเสียงดนตรี มโหรี แบบเขมร แบบอีสานใต้จางละลาย ผมเริ่มอ่านออกเขียนได้ พอจะเล่นจับเปย ฏอง เวง ได้บ้างแล้ว กลิ่นผการัมเจก จางๆลอยมาในสายลม ผมรวบรวมสหายดนตรีพร้อมกับเครื่องพื้นบ้านอีสานใต้หลายอย่างมาประกอบส่วน เป็นวงดนตรี ตั้งชื่อว่า Khmer Roots (ขแมร์ รูทส์) ฝึกฝนจนกระทั่งพากันตระเวนแสดงเพื่อเผยแพร่ศิลปะเท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวย
“แต่ผมนั้นยังเล่น จับเปย ฏอง เวง
เหมือนกับฝรั่งตำส้มตำปูปลาร้านั่นหละ คือยังไงๆ มันก็ยังไม่ถึง ไม่แซ่บ
ไม่นัว กล่าวคือมันยังขาด “วิญญาณ” เพราะทุกวันนี้ผมยังฝันเป็นภาษาไทยกลาง
แต่ก็มั่นใจว่าอีกไม่นาน ผมจะฝันเป็นภาษาเดียวกันกับ จับเปย ฏอง เวง”
ในบันทึกของน้าวี ที่เขียนถึงลุงจุมผู้เป็นอาจารย์สอนการเล่นจับเป็ย ใน
อสท. ท่านจะใช้คำว่า “จับเปย ฎอง เวง”
แต่มีผู้รู้บางท่านทักท้วงมาว่าควรจะเป็น “จับเป็ย”
ซึ่งการออกเสียงจะสั้นและห้วนลงตามสำเนียงของคนเขมรพื้นถิ่น
ดังนั้นในบทบันทึกของน้าวี เราจึงเคารพต้นฉบับของท่านด้วยการใช้คำว่า
“จับเปย” ส่วนคำว่า ฎองเวง (อ่านว่า ดอง-เวง) เป็นภาษาเขมร
ที่น้าวีคิคคำนี้ขึ้นมาต่อ เป็น “จับเปยฎองเวง” แปลว่า “พิณด้ามยาว”
เรียกตามลักษณะของตัวพิณหรือจับเป็ยที่มีคอยาวเป็นพิเศษ
ถึงวันนี้ น้าวี ได้จากโลกนี้ไปแล้ว จากการจากไปของน้าวี ยังความเศร้าโศกเสียใจมายังเพื่อนพ้องน้องพี่ที่รักและเคารพในตัวศิลปินผู้สร้างตำนานเพลงเด็ก อย่างวง “สองวัย” ซึ่งแน่นอนสำหรับลุงจุม น้าวีคือความหวัง คือศิษย์เอก คือลมหายใจของ เจรียงจับเป็ย ที่ท่านคาดหวังว่าจะมีผู้สืบทอด การสิ้นน้าวีไป จึงเท่ากับความหวังของลุงจุมได้สิ้นลงตามไปด้วย
ถึงวันนี้ น้าวี ได้จากโลกนี้ไปแล้ว จากการจากไปของน้าวี ยังความเศร้าโศกเสียใจมายังเพื่อนพ้องน้องพี่ที่รักและเคารพในตัวศิลปินผู้สร้างตำนานเพลงเด็ก อย่างวง “สองวัย” ซึ่งแน่นอนสำหรับลุงจุม น้าวีคือความหวัง คือศิษย์เอก คือลมหายใจของ เจรียงจับเป็ย ที่ท่านคาดหวังว่าจะมีผู้สืบทอด การสิ้นน้าวีไป จึงเท่ากับความหวังของลุงจุมได้สิ้นลงตามไปด้วย
“ สิ้นอาจารย์วีแล้ว ผมก็ไม่รู้จะได้ใครมาขอต่อยอด ใครก็ได้ขอให้ มีจิตวิญญาณแห่งดนตรีก็พร้อมที่จะถ่ายทอดให้ทุกคน ที่ผ่านมาก็มีหลายคนที่อยากมาเรียนแต่ก็ไม่จริงจังแล้วก็หายไป” ลุงจุมเรียกน้าวีว่า อาจารย์วี แม้จะเป็นลูกศิษย์แต่เมื่อครั้งมีชีวิตอยู่ น้าวี ดูแลลุงจุมเหมือนญาติผู้ใหญ่คนหนึ่ง ทุกครั้งที่พูดถึงน้าวี ลุงจุมจึงมักมีแววตาที่เศร้าสร้อยเหมือนท่านได้สูญเสียคนรัก ศิษย์รักคนสำคัญไป แม้ลุงจุมจะมีทายาทถึง 3 คน แต่ก็ไม่มีใครสนใจที่จะมาสืบทอดการเล่นเจรียงจับเป็ยจากผู้เป็นพ่อเลยแม้แต่คนเดียว
“ ตัวผมไม่มีลูกศิษย์ มีคนมาเรียนไม่ถึง 2 วันก็หนีกลับหมด บางคนเจรียงได้แต่ดีดพิณไม่เป็น บางคนดีดพิณเป็นแต่เจรียงไม่ได้ อย่างโรงเรียนศรีสะอาดวิทยาคมให้ผมไปสอน สอนได้หนึ่งเดือนเขาก็ให้หยุด เงินเดือนผมไม่ต้องการหรอก แต่อยากเห็นลูกหลานรู้ภาษาบ้านตัวเอง หรือเจรียงได้เท่านั้น เขาว่าเขาไม่มีเวลา นักเรียนต้องเรียนโปงลาง ร้องเพลง ทุกวันนี้จึงไม่มีผู้สืบทอด ถ้าผมตาย เจรียงจับเปยคงหมดจากประเทศนี้ ” ประโยคนี้ลุงจุมได้พูดผ่าน คอลัมน์จุดประกาย น.ส.พ. กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 20 ธ.ค. 2555
ไล่เรียงมาถึงตรงนี้แล้วผมจึงไม่แปลกใจว่าทำไม ลุงจุม จึงกล่าวกับ
ศิลปินเหวิน มหรรณพ ต้นวงศ์ษา ในคืนวันนั้นว่า “
ดนตรีไม่มีเชื้อชาติและภาษา ขอเพียงท่านมีใจรักในการที่จะเล่นจับเป็ยแล้ว ท่านจะเจรียง(ร้อง)เป็นภาษาอะไรก็ได้ทั้งนั้น ”
นั่นย่อมหมายถึงลุงจุมเองท่านได้พยายามทุกวิถีทางแล้ว ที่จะหาคนมาสืบทอด
ศิลปะการเจรียงจับเป็ยซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรโดยตรง
แต่ถึงกระนั้น
เมื่อไม่มีคนในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันหันมาสนใจที่จะสืบทอดตรงนี้
ท่านจึงได้เปิดโอกาสให้ใครก็ได้ที่สนใจศิลปะการเล่นจับเป็ยได้เข้ามาเรียนรู้สืบทอดต่อลมหายใจ
สืบเส้นเสียงจับเป็ยของท่านเพื่อไม่ให้เสียงของมันเลือนหายไปจากดินแดนอีสานใต้ ยามเมื่อแสงสุดท้ายของท่านมืดดับลง......
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จับเปยฏองเวง และเจรียง จะยังคงอยู่คู่เมืองขุขันธ์และประเทศไทย ตราบนานเท่านาน หากคนในพื้นที่รักและสืบทอดเจตนารมย์ของบรรพบุรุษ เราเชื่อว่าคุณพ่อจุม ท่านไม่ได้ต้องการอะไรที่เลิศล้ำนำสมัยเลย ท่านขอเพียงแค่ ลูกหลานอย่างเรา ๆ ช่วยกันสืบทอดเจตนารมย์ของท่านให้อยู่ตราบนานเท่านาน เ่ท่านั้นเอง...................................................เพจขุขันธ์นคร ขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษาภูมิปัญญา จับเป็ยฏองเวง ของคุณพ่อจุม แสงจันทร์ ให้อยู่ให้ลูกหลานได้ชื่นชม ตราบนานเท่านาน จึงขอนำเสนอความหวังและเจตนารมย์ของคุณพ่อจุม ผ่านบทความนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านบทความนี้ จะช่วยกันรักษาภูมิปัญญาและสืบทอดเจตนารมย์ของท่านได้เป็นอย่างดี......
ท้ายนี้ก็ต้องขอขอบพระคุณอีกครั้งสำหรับหนังสือพิมพ์ Esanwatch (อีสานวอช) ที่ได้นำเสนอเรื่องนี้ อย่างน้อย ๆ นั่นก็คือการปลุกกระตุ้นให้คนมาสนใจศิลปะชนิดนี้มากขึ้นด้วยนั่นเอง......
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น